กระบวนการสื่อสาร

กระบวนการสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูล การแลกเปลี่ยน ความคิด

กระบวนการสื่อสาร การสื่อสารเป็นการส่งผ่านข้อมูล การแลกเปลี่ยน ความคิด หรือกล่าวได้ว่า เป็นกระบวนการที่บุคคลสองฝ่าย แบ่งปันความหมายให้กันและกันได้ทราบ เพื่อให้มีความคิด ตรงกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

          ซึ่งการทำให้เข้าใจตรงกันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ กระบวนการสื่อสาร มักมีความสลับซับซ้อน

ความสำเร็จของการสื่อสารขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ลักษณะของสาร การตีความสาร และสภาพแวดล้อมเมื่อได้รับสาร การรับรู้ของผู้รับสารที่มีต่อแหล่งที่มาของสาร และสื่อที่ใช้ในการส่งสาร

คำพูด ภาพ เสียง และสี มีความหมายสำหรับแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น คำว่า “โค้ก” ถ้าใช้ในบริบท ภาษาไทยจะหมายถึงน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่ง แต่ถ้าใช้ใน ประเทศตะวันตกบางประเทศ หมายถึงยาเสพติด ประเภทหนึ่ง

ผู้ทำการตลาดต้องเข้าใจความหมายของคำหรือ สัญลักษณ์ที่ใช้และรู้ว่าจะมีผลต่อการตีความของ ผู้บริโภคอย่างไร ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่บริษัทที่ทำการตลาดในระดับ นานาชาติต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

1. ผู้ส่งสาร (Sender) หรือแหล่งกำเนิดสาร (Source) อาจเป็นบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีข้อมูลที่จะแบ่งปันให้กับผู้อื่น

2. การเข้ารหัส (Encoding) เป็นการแปลง ความคิดหรือข้อมูลให้อยู่ในรูปสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ เช่น เลือกคำพูด สัญลักษณ์ ภาพ

3. สาร (Message) คือสิ่งที่ส่งไปยังผู้รับสาร อาจเป็นคำพูดหรือถ้อยคำที่เรียกว่า วัจนภาษา (Verbal Language) หรือไม่อยู่ในรูปคำพูด ที่ เรียกว่า อวัจนภาษา (Nonverbal Language)

            สารอาจเป็นการพูดหรือการเขียน หรือสัญลักษณ์ (Symbol) หรือเครื่องหมาย (Sign) ก็ได้  สัญลักษณ์หลายประเภทมีความเป็นสากล

            เช่น เครื่องหมายห้ามจอด ห้ามสูบบุหรี่  สัญลักษณ์บริษัทบางแห่งก็มีคน รู้จักแพร่หลาย เช่น สัญลักษณ์ของร้านแม็คโดนัลด์ รองเท้าไนกี น้ำอัดลมโคคาโคล่า เป็นต้น ผู้ส่งสารต้องตระหนักว่าสารที่ส่งไปจะถูกถอดรหัสโดยผู้รับสาร จึงต้องออกแบบให้เหมาะสมกับช่องทางและผู้รับ

4. ช่องทาง (Channel) หมายถึงวิธีการใน เคลื่อนย้ายสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ แบ่งได้ 2 ประเภท  

                        4.1 ช่องทางที่เป็นบุคคล (Personal Channel)   

                        4.2 ช่องทางที่ไม่ใช่บุคคล (Nonpersonal Channel) มักเรียกว่า สื่อมวลชน (Mass Media) สารจะถูกส่งไปยังผู้คนจำนวนมากใน เวลาเดียวกัน แบ่งเป็น 2 ประเภท  

                        4.2.1 สื่อสิ่งพิมพ์ (Print Media) เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ไปรษณีย์ตรง และป้ายโฆษณา  

                        4.2.2 สื่อแพร่สัญญาณ (Broadcast Media) เช่น สื่อที่ใช้คลื่นผ่านอากาศ ในการส่ง เช่น วิทยุ โทรทัศน์

5. ผู้รับสาร (Receiver) เป็นผู้ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ ทราบความคิดหรือข้อมูล โดยทั่วไปเป็นผู้บริโภคเป้าหมาย 

                        6. การถอดรหัส (Decoding) เป็นกระบวนการ เปลี่ยนและตีความสารที่ได้รับ ซึ่งจะถูกกระทบโดยกรอบ อ้างอิง หรือเขตประสบการณ์ หรืออาณาบริเวณของความ เข้าใจ รวมถึงทัศนคติ การรับรู้ พฤติกรรม และประสบการณ์ 

                        7. สิ่งรบกวน (Noise) คือ อิทธิพลจากปัจจัย ภายนอกที่อาจทำให้การรับสารผิดพลาดไป เช่น เสียง โทรศัพท์ คนไอ เพื่อนถามเราขณะอาจารย์กำลังสอน  ผู้สื่อสารต้องทำให้การสื่อสารถูกรบกวนน้อยที่สุด

8. การตอบสนองหรือการป้อนกลับ (Response) หรือ (Feedback) เป็นปฏิกิริยาของ ผู้รับสารหลังจากที่ได้เห็น ได้ยิน หรือได้อ่านสาร แล้ว  การตอบสนองของผู้รับสาร อาจมองไม่เห็น เช่น บันทึกข้อมูลไปในสมอง หรืออาจมองเห็น เช่น การ โทรศัพท์สั่งซื้อสินค้าที่เห็นทางโทรทัศน์

ถึงแม้ว่าเป้าหมายสุดท้ายของการสื่อสารคือการ ขายสินค้าได้ แต่เราไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าการ ขายเกิดจากการโฆษณาหรือไม่ ดังนั้นผู้ทำการตลาดจึง ต้องใช้วิธีอื่นเพื่อให้ทราบการตอบสนองของลูกค้า เช่น การเข้าพบลูกค้า การสอบถามโดย การสังเกตจากคูปอง ที่ลูกค้าน ามาแลกซื้อ หรือการให้ตอบรับทางไปรษณีย์ เป็นต้น 

                        นอกจากนี้อาจใช้วิธีทางการวิจัยเพื่อให้ทราบว่า การสื่อสารประสบความสำเร็จหรือไม่ เช่น การวิเคราะห์ กลุ่มผู้อ่าน การทดสอบการจำโฆษณาได้ การทดสอบ ความเข้าใจสาร การวัดทัศนคติที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

Cr. sa gaming

About the author

Sophie Obrien

View all posts